อีเมล์ :
รหัสผ่าน :
ลืมรหัสผ่าน
ลงทะเบียน/เข้าสู่ระบบ
ภาษา
ปรับขนาดตัวอักษร
ข้อมูลพื้นฐาน
สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน 
1.1 ที่ตั้งของหมู่บ้านหรือชุมชนหรือตำบล 
สำนักงานเทศบาลเมืองบางกะดี ตั้งอยู่เลขที่ 195 หมู่ 5 ถนนติวานนท์ ตำบลบางกะดี  อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี  
เทศบาลเมืองบางกะดี ตระหนักถึงการพัฒนาท้องถิ่นให้เจริญก้าวหน้า เปิดโอกาสให้ ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นมากขึ้น ซึ่งเทศบาลเมืองบางกะดีได้ดำเนินการจัดตั้งชุมชน ในเขต เทศบาล โดยมีคณะกรรมการชุมชนเป็นผู้บริหารงาน และมีชุมชนจำนวน 20 ชุมชน ได้แก่
หมู่ที่ 1 จำนวน 3 ชุมชน ประกอบด้วย 
1. ชุมชนบ้านเกริน 
2. ชุมชนศาลาแดง 
3. ชุมชนโคกชะพลูล่าง 
หมู่ที่ 2 จำนวน 4 ชุมชน ประกอบด้วย 
1. ชุมชนโคกชะพลูบน 
2. ชุมชนสามแยกสี่ไชยทอง 2 ร่วมใจ
3. ชุมชนสี่ไชยทองอาเขต
4. ชุมชนซอยอำภา 
หมู่ที่ 3 จำนวน 4 ชุมชน ประกอบด้วย 
1. ชุมชนวัดสังลาน 
2. ชุมชนคลองตานก 
3. ชุมชนหมู่บ้านพฤกษา 63/1
4. ชุมชนหมู่บ้านพฤกษาวิลล์ 41/1
หมู่ที่ 4 จำนวน 5 ชุมชน ประกอบด้วย 
1. ชุมชนคลองมะดัน
2. ชุมชนคลองลำพู
3. ชุมชนซอยเฟื่องฟ้า
4. ชุมชนคลองต้นไทร
5. ชุมชนหมู่บ้านพฤกษาวิลล์ 41
หมู่ที่ 5 จำนวน 4 ชุมชน ประกอบด้วย 
1. ชุมชนติวานนท์พัฒนา 
2. ชุมชนประตูน้ำเชียงราก 
3. ชุมชนบางงิ้ว 
4. ชุมชนคลองประปา

1.2 ลักษณะภูมิประเทศ 
สภาพพื้นที่ทั่ว ๆ ไปเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก มีคลองธรรมชาติไหลผ่าน หลายสายโดยเชื่อมต่อกับแม่น้ำเจ้าพระยา 

1.3 ลักษณะภูมิอากาศ
มีสภาพภูมิอากาศเหมือนกับจังหวัดทั่วไปในภาคกลาง แบ่งเป็น 3 ฤดู ได้แก่ ฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว

1.4 ลักษณะของดิน
ดินมีลักษณะเป็นดินเหนียว สภาพดินเป็นกรดปานกลาง

1.5 ลักษณะของแหล่งน้ำ
มีลำคลองธรรมชาติ 20 คลอง ได้แก่
1. คลองวัดเกริน หมู่ 1 2. คลองสาธารณะ หมู่ 1
3. คลองสาธารณะ หมู่ 1 4. คลองเจ้า หมู่ 1
5. คลองศาลเจ้า หมู่ 1 6. คลองศาลาแดง หมู่ 1
7. คลองโคกชะพลูล่าง หมู่ 1 8. คลองโคกชะพลูบน หมู่ 2
9. คลองวัดบางกุฎีทอง หมู่ 2 10. คลองวัดสังลาน หมู่ 3
11. คลองตานก หมู่ 3 12. คลองมะดัน หมู่ 4
13. คลองลำภู หมู่ 4 14. คลองวัดบางกะดี หมู่ 4
15. คลองต้นไทร หมู่ 4 16. คลองสองกระดอง หมู่ 4
17. คลองบางกะเสือ หมู่ 5 18. คลองหัวป่า หมู่ 5
19. คลองบางงิ้ว หมู่ 5 20. คลองบางหลวงเชียงราก หมู่ 5

1.6 ลักษณะของไม้ป่าไม้
- ไม่มี -

2. ด้านการเมือง/การปกครอง

2.1 เขตการปกครอง
เทศบาลเมืองบางกะดี มีพื้นที่ครอบคลุมตำบลบางกะดี ทั้งตำบลจำนวน 5 หมู่บ้าน มีพื้นที่ทั้งหมด 8.3 ตารางกิโลเมตร หรือ 5,187.5 ไร่ มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ใกล้เคียง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลบ้านกลาง (คลองเชียงราก) อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี
- ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลบางพูน (คลองประปา) อำเภอเมืองปทุมธานี
จังหวัดปทุมธานี
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลบางขะแยง,ตำบลบางเดื่อ,ตำบลบางหลวง,ตำบลบ้างฉาง (แม่น้ำเจ้าพระยา) อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี ตำบลบางกะดี ห่างจากที่ตั้งศาลากลางจังหวัดปทุมธานี ประมาณ 10 กิโลเมตร
หลักเขตที่ 1 ตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงจุดที่แนวเส้นแบ่งเขตระหว่างตำบลบางกะดี กับตำบลบ้านกลาง อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี มาบรรจบกับแนวเขตเทศบาลเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี
ด้านเหนือ
จากหลักเขตที่ 1 เป็นเส้นตรงข้ามฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือถึงหลักเขตที่ 2 ซึ่งตั้งอยู่ตรงบริเวณปากคลองบางหลวงเชียงราก ฝั่งเหนือ
จากหลักเขตที่ 2 เป็นเส้นเลียบแนวเส้นแบ่งเขตระหว่างตำบลบางกะดีกับตำบลบ้านกลางอำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี ผ่านทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 306 (ถนนติวานนท์) ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ถึงหลักเขตที่ 3 ซึ่งตั้งอยู่ริมคลองประปาฝั่งตะวันตกตรงจุดที่คลองประปาตัดกับคลอง บางหลวงเชียงราก
ด้านตะวันออก
จากหลักเขตที่ 3 เป็นเส้นเลียบแนวคลองประปาฝั่งตะวันตกไปทางทิศใต้ถึงหลักเขตที่ 4 ซึ่งตั้งอยู่ริมคลองประปา ฝั่งตะวันตก เป็นระยะประมาณ 1,300 เมตร
ด้านใต้
จากหลักเขตที่ 4 เป็นเส้นเลียบแนวเส้นแบ่งเขตระหว่างตำบลบางกะดี กับตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี ไปทางทิศตะวันตก ซึ่งเป็นแนวคันดินของสวนอุตสาหกรรมบางกะดีถึงหลักเขตที่ 5 ซึ่งตั้งอยู่ตรงจุดสิ้นสุดแนวคันดินของสวนอุตสาหกรรมบางกะดี
จากหลักเขตที่ 5 เป็นเส้นเลียบแนวเส้นแบ่งเขตระหว่างตำบลบางกะดี กับตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ถึงหลักเขตที่ 6 ซึ่งตั้งอยู่ตรงจุดกึ่งกลางทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 306 (ถนนติวานนท์)
จากหลักเขตที่ 6 เป็นเส้นเลียบแนวกึ่งกลางทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 306 (ถนนติวานนท์) ไปทางทิศใต้ถึงหลักเขตที่ 7 ซึ่งตั้งอยู่ตรงจุดกึ่งกลางทางหลวงหมายเลข 306 (ถนนติวานนท์) เป็นระยะประมาณ 195 เมตร
จากหลักเขตที่ 7 เป็นเส้นเลียบแนวเส้นแบ่งเขตระหว่างตำบลบางกะดี กับตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ และไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ผ่านถนนบางกะดี สายใน และเป็นเส้นเลียบตามแนวคลองต้นทองหลาง ฝั่งเหนือ แล้วข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาถึงหลักเขตที่ 8 ซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงแนวเขตตำบลบางขะแยง อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี
ด้านตะวันตก
จากหลักเขตที่ 8 เป็นเส้นเลียบแนวแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตกจนบรรจบกับหลักเขตที่ 1

3. ประชากร

3.1 ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร
เทศบาลเมืองบางกะดี มีประชากรทั้งสิ้น จำนวน 15,253 คน แยกเป็น ชาย 7,149 คน หญิง 8,104 คน จำนวนครัวเรือน 7,776 ครัวเรือน โดยแยกเป็น 5 หมู่บ้าน และอยู่ในเขตเทศบาลเมือง บางกะดี ทั้ง 5 หมู่บ้าน มีประชากรแยกตามหมู่บ้าน ดังนี้
หมู่ที่ ชื่อบ้าน จำนวนประชากร จำนวน ครัวเรือน
ชาย หญิง รวม
1 บ้านเกริน 715 789 1,498 476
2 บ้านโคกชะพลู 1,213 1,324 2,537 813
3 บ้านกางซอง 1,434 1,676 3,110 1,753
4 บ้านลำพู 2,451 2,828 5,279 2,810
5 บ้านบางงิ้ว 1,589 1,753 3,342 2,354
รวม 7,402 8,364 15,766 8,206

4. สภาพทางสังคม

4.1 การศึกษา
สถานศึกษาในเขตเทศบาลเมืองบางกะดี มีจำนวน 7 แห่ง คือ
ที่ สถานศึกษาที่อยู่ในเขตเทศบาล ระดับชั้นที่เปิดสอน สถานที่ตั้ง สังกัด
1 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เทศบาลเมืองบางกะดี เด็กก่อนวัยเรียน หมู่ที่ 2ตำบลบางกะดี เทศบาลเมืองบางกะดี
2 โรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองบางกะดี ระดับอนุบาล 1-3 หมู่ที่ 2ตำบลบางกะดี เทศบาลเมืองบางกะดี
3 โรงเรียนเทศบาลเมืองบางกะดี ระดับมัธยมศึกษา ตอนต้นถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย หมู่ที่ 1ตำบลบางกะดี เทศบาลเมืองบางกะดี
4 โรงเรียนวัดบางกุฎีทอง ระดับประถมศึกษา ถึงมัธยมศึกษาตอนต้น หมู่ที่ 2ตำบลบางกะดี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 1
5 โรงเรียนชุมชนวัดบางกะดี ระดับอนุบาล 1-2ถึงระดับประถมศึกษา หมู่ที่ 4ตำบลบางกะดี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 1
6 ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย หมู่ที่ 1ตำบลบางกะดี กระทรวงศึกษาธิการ
7 สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร(ศูนย์บางกะดี) ระดับอุดมศึกษา หมู่ที่ 5ตำบลบางกะดี กระทรวงศึกษาธิการ

4.2 สาธารณสุข
ในเขตเทศบาลเมืองบางกะดี มีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ 2 แห่ง
1. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางกะดี หมู่ 1
2. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางกะดี หมู่ 4
ในเขตเทศบาลเมืองบางกะดี มีการดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อม ดังนี้
1. การจัดการขยะมูลฝอยเทศบาลเมืองบางกะดีได้เก็บรวบรวมขยะตามแหล่งกำเนิด ภายในเขตเทศบาล วันละประมาณ 20 ตัน ด้วยรถยนต์บรรทุกขยะ ดังนี้

ลำดับ

รถยนต์บรรทุกขยะ

ความจุ

ทะเบียน (ปทุมธานี)

ชนิด

กิโลกรัม

น.น. (ตัน)

1

2

3

4

5

6

7

8

9

10

11

82-0084

82-0086

82-0112

82-4025

82-2107

82-7917

82-7818

83-1292

83-2871

83-3010

83-2847

อัดท้าย

อัดท้าย

อัดท้าย

อัดท้าย

อัดท้าย

อัดท้าย

อัดท้าย

อัดท้าย

อัดท้าย

อัดท้าย

อัดท้าย

8,860

8,860

5,500

5,710

8,700

8,700

8,120

9,000

9,000

8,800

6,500

 

 


เทศบาลได้นำขยะมูลฝอย ไปกำจัดโดยวิธีฝังกลบ ณ สถานที่กำจัดขยะของเอกชน เขตตำบลบางพลี อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
- มีรถกวาดดูดฝุ่น จำนวน 1 คัน โดยออกปฏิบัติงานในพื้นที่ตำบลบางกะดีทุกวัน
2. การกำจัดสิ่งปฏิกูลเทศบาลเมืองบางกะดี ได้บริการเก็บสิ่งปฏิกูลเองโดยใช้รถยนต์สูบสิ่งปฏิกูล ขนาด 4,000 ลิตร ชนิด 6 ล้อ จำนวน 1 คัน และนำไปกำจัดที่ศูนย์รวมกำจัดสิ่งปฏิกูลอยู่ในความรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี
3. การกำจัดน้ำเสีย พื้นที่ในเขตเทศบาลเมืองบางกะดี มีทั้งหมด 8.3 ตารางกิโลเมตร ซึ่งโรงงาน ในเขตสวนอุตสาหกรรมจะทำการบำบัดน้ำเสียก่อนส่งเข้าสู่ระบบบำบัดของสวนอุตสาหกรรมบางกะดี ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของบริษัทสวนอุตสาหกรรมบางกะดี จำกัด นอกจากนั้นพื้นที่อีกส่วนเป็นชุมชนน้ำเสียหรือน้ำทิ้งของชุมชนนั้น จะปล่อยน้ำทิ้งลงสู่คลองระบายน้ำต่าง ๆ และแม่น้ำเจ้าพระยา
4. อากาศและเสียงมลภาวะด้านนี้ ในเขตเทศบาลฯเคยมีปัญหาจากโรงงานในพื้นที่แต่ปัจจุบัน ได้แก้ปัญหาเรียบร้อยแล้ว
ในการดำเนินงานสาธารณสุขมูลฐานและที่เกี่ยวข้องได้จัดตั้งองค์กรเครือข่าย (Network Organization) ได้แก่ อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) จำนวน 233 คน
1. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 1 จำนวน 30 คน
2. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 2 จำนวน 54 คน
3. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 3 จำนวน 38 คน
4. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 4 จำนวน 69 คน
5. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 5 จำนวน 55 คน
(ข้อมูล : กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองบางกะดี ณ เดือนกันยายน 2565)

4.3 อาชญากรรม
ประชาชนในพื้นที่ตำบลบางกะดี ไม่มีการก่อเหตุอาชญากรรม แต่มีเหตุลักขโมยทรัพย์สินของประชาชน และทำลายทรัพย์สินของทางราชการบ้างเพียงเล็กน้อย ด้วยในพื้นที่ตำบลบางกะดี ไม่มีสถานีตำรวจ แต่เทศบาลเมืองบางกะดี มีศูนย์ย่อยบริเวณหน้าวัดบางกะดี จึงได้จัดตั้งศูนย์อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน ณ ที่ทำการสำนักงานเทศบาลเมืองบางกะดี มีจำนวนสมาชิก อปพร. 21 คน และได้มีการออกตรวจความเรียบร้อย ในตำบลบางกะดีอย่างต่อเนื่อง (ข้อมูล ณ เดือนกันยายน 2565)

4.4 ยาเสพติด
เทศบาลเมืองบางกะดี ได้มีการสุ่มตรวจร่วมกับสถานประกอบการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และมีการออกตรวจเฝ้าระวังชุมชนหมูบ้านต้านยาเสพติดร่วมกับทหารและตำรวจ ทำให้ประชาชนที่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดลดลง

4.5 การสังคมสงเคราะห์
ในเขตเทศบาลเมืองบางกะดีไม่มีสถานสงเคราะห์ในพื้นที่ โดยดำเนินการตามโครงการ ดังนี้
โครงการสงเคราะห์เบี้ยยังชีพให้กับสูงอายุผู้พิการผู้ป่วยเอดส์ จำนวนทั้งสิ้น 117 ราย แยกเป็น
ผู้สูงอายุ จำนวน 72 คน
ผู้พิการ จำนวน 41 คน
ผู้ป่วยเอดส์ จำนวน 4 คน
2. โครงการสร้างหลักประกันรายได้แก่ผู้สูงอายุตามนโยบายของรัฐบาล จำนวนทั้งสิ้น 1,708 ราย
3. โครงการสนับสนุนการเสริมสร้างสวัสดิการให้แก่ผู้พิการหรือทุพพลภาพ ตามนโยบายของรัฐบาล จำนวนทั้งสิ้น 275 ราย
โครงการสร้างหลักประกันรายได้ให้กับผู้สูงอายุ ตามนโยบายของรัฐบาล รายละ 600.-,700.-,800.-,1,000.- บาท/เดือน/ราย ตามระดับขั้นสูงอายุของผู้สูงอายุ และโครงการเสริมสร้างสวัสดิการให้แก่ผู้พิการหรือทุพพลภาพ ตามนโยบายรัฐบาล รับเบี้ยยังชีพโดยผ่านบัญชีธนาคารกรุงไทย เพียงช่องทางเดียว
(ข้อมูล : กองสวัสดิการสังคม เทศบาลเมืองบางกะดี ณ เดือนกันยายน 2565)

4.6 การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
เทศบาลเมืองบางกะดี มีสถานีดับเพลิง 2 แห่ง
1. สำนักงานเทศบาลเมืองบางกะดี (สถานีดับเพลิงศูนย์ใหญ่)
2. วัดสังลาน (สถานีดับเพลิงศูนย์ย่อย)
มีอุปกรณ์เครื่องมือดับเพลิง ดังต่อไปนี้
1. รถยนต์บรรทุกน้ำ ขนาดจุน้ำ 6,000 ลิตร จำนวน 2 คัน
2. รถยนต์ดังเพลิง ขนาดจุน้ำ 6,000 ลิตร จำนวน 2 คัน
3. รถยนต์ดับเพลิงอเนกประสงค์ ขนาดจุน้ำ 12,000 ลิตร จำนวน 1 คัน
4. รถยนต์บรรทุกน้ำดับเพลิงปิกอัพพร้อมเครื่องหาบหาม จำนวน 1 คัน
5. รถกู้ชีพพยาบาล จำนวน 1 คัน
6. รถยนต์ดับเพลิง/โฟม/เคมี/บรรทุกน้ำ+โฟมขนาดจุน้ำ 3,000 ลิตร จำนวน 1 คัน
7. รถยนต์ตรวจการณ์ จำนวน 1 คัน
8. เรือดับเพลิง จำนวน 1 ลำ
9. เครื่องอัดถังอากาศบริสุทธิ์ SCBA จำนวน 1 เครื่อง
10. ชุด SCBA (ชุดค้นหาภายในอาคาร) จำนวน 2 ชุด
11. รถยนต์ดับเพลิงอาคาร พร้อมกระเช้ากู้ภัยความจุถังน้ำไม่น้อยกว่า จำนวน 1 คัน 8,000 ลิตร
12. เรือกู้ภัยอลูมิเนียม จำนวน 1 ลำ
13. รถดูดโคลนเลน จำนวน 1 คัน
(ข้อมูล : งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สำนักปลัดเทศบาล เทศบาลเมืองบางกะดี ณ เดือนกันยายน 2565)

5. ระบบบริการพื้นฐาน

5.1 การคมนาคมขนส่ง
ประชาชนส่วนใหญ่ใช้ถนนเป็นเส้นทางคมนาคม ถนนส่วนใหญ่มีสภาพใช้การได้ดีมีบางส่วนที่ต้องปรับปรุงแก้ไข สำหรับเส้นทางคมนาคมที่สำคัญรองลงมา คือ ทางน้ำ ซึ่งเป็นเส้นทางคมนาคมที่สำคัญมากทางหนึ่งในอดีตแต่ในปัจจุบันได้ลดความสำคัญลง เนื่องจากความสะดวกและความคล่องตัว ในการคมนาคมขนส่งทางบกมีมากขึ้น
เส้นทางการคมนาคม มีรถประจำทางวิ่งบริการประชาชนในเขตเทศบาล ดังนี้
1. รถยนต์ประจำทาง (สัมปทานเอกชน) สายรังสิต – บางกะดี
2. รถยนต์ประจำทาง (สัมปทานเอกชน) สายปทุมธานี – ปู่โพธิ์
นอกจากนี้ยังมีถนนเชื่อมต่อไปยังภาคต่าง ๆ และจังหวัดใกล้เคียง ได้แก่
1. ถนนติวานนท์ ใช้เป็นเส้นทางไปสู่กรุงเทพฯ และจังหวัดใกล้เคียง
2. ถนนรังสิต – ปทุมธานี เชื่อมต่อกับถนนพหลโยธินไปสู่ภาคเหนือและภาคะวันออกเฉียงเหนือ

5.2 การไฟฟ้า
การให้บริการด้านการไฟฟ้าของเทศบาลเมืองบางกะดี ขึ้นอยู่กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคปทุมธานี 2 ตำบลบางพูน อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี

5.3 การประปา
การให้บริการด้านการประปาของเทศบาลเมืองบางกะดี ขึ้นอยู่กับสำนักงานประปาส่วน ภูมิภาค (ชั้นพิเศษ) สาขารังสิต

5.4 โทรศัพท์
ปัจจุบันการให้บริการทั่วถึงในเขตเทศบาล ซึ่งการติดต่อขอใช้บริการโทรศัพท์ในเขตเทศบาลและสามารถติดต่อได้ที่สำนักบริการโทรศัพท์บางพูน และจากบริษัทเทเลคอมเอเชียคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

5.5 ไปรษณีย์หรือการสื่อสารหรือการขนส่ง และวัสดุ ครุภัณฑ์
ปัจจุบัน ยังไม่มีที่ทำการไปรษณีย์ในเขตเทศบาลเมืองบางกะดี แต่มีร้านค้าให้บริการด้านไปรษณีย์

5.6 เสียงไร้สาย
ปัจจุบันเทศบาลเมืองบางกะดี ติดตั้งระบบเสียงไร้สายทั้งตำบล 19 ชุมชน จำนวน 107 จุด
(ข้อมูล : กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ เทศบาลเมืองบางกะดี ณ เดือนกันยายน 2565)

6. ระบบเศรษฐกิจ

6.1 การเกษตร
ปัจจุบันในพื้นที่ตำบลบางกะดี มีการทำเกษตรเพียงเล็กน้อย

6.2 การประมง
-ไม่มี-

6.3 การปศุสัตว์
เป็นการประกอบการในลักษณะเลี้ยงในครัวเรือน ในเขตพื้นที่ตำบลบางกะดี ไม่มีการปศุสัตว์เชิงพาณิชย์เป็นที่ตั้งของศูนย์ราชการกรมปศุสัตว์

6.4 การบริการ
ธนาคาร จำนวน 3 แห่ง
โรงแรม จำนวน 2 แห่ง
สนามกอล์ฟ จำนวน 2 แห่ง
ปั๊มน้ำมันและก๊าซ จำนวน 3 แห่ง
อพาร์ทเมนท์ จำนวน 2 แห่ง

6.5 การท่องเที่ยว
การท่องเที่ยวในเขตพื้นที่ตำบลบางกะดี ยังไม่มีการท่องเที่ยวเชิงพาณิชย์ แต่มีวัดที่มีศิลปะสวยงามและสวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ ปัจจุบันวัดสังลาน หมู่ 3 มีพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านและมีวังปลาธรรมชาติ ปลาหลากหลายพันธุ์ สามารถให้อาหารปลาริมแม่น้ำเจ้าพระยา

6.6 อุตสาหกรรม
ในพื้นที่เทศบาลเมืองบางกะดี มีสวนอุตสาหกรรมบางกะดีซึ่งมีโรงงานอุตสาหกรรมในเขตเทศบาลประมาณ 64 แห่ง แบ่งเป็น ในสวนอุตสาหกรรม 37 แห่ง อยู่รอบนอกสวนอุตสาหกรรม 27 แห่ง การประกอบอุตสาหกรรมในท้องถิ่น ส่วนใหญ่ราษฎรในท้องถิ่นไม่ได้เป็นเจ้าของกิจการเอง แต่เป็นผู้ประกอบการจากภายนอก/ต่างประเทศที่เข้ามาลงทุนประกอบอุตสาหกรรม
(ข้อมูล : กองคลัง เทศบาลเมืองบางกะดี ณ เดือนกันยายน 2565)

6.7 การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ
ในเขตเทศบาลบริเวณย่านชุมชนจะเป็นอาคารพาณิชย์ และร้านค้าปลีก และบริการต่าง ๆ
ปั๊มน้ำมันและก๊าซ 2 แห่ง
1. ปั๊มน้ำมันและแก๊ส (บริษัท ซันนี่ ปิโตรเลี่ยม จำกัด)
2. ปั๊มน้ำมันบางจาก จำนวน 2 แห่ง
ธนาคาร 2 แห่ง
1. ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
2. ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
3. ธนาคารทหารไทยธนชาต (ศูนย์การค้า เดอะไนน์เซ็นเตอร์ ติวานนท์)
หมู่บ้านจัดสรร 11 แห่ง
1. หมู่บ้านสี่ไชยทอง
2. หมู่บ้านสุภาพ
3. หมู่บ้านติวานนท์เพลส
4. หมู่บ้านวิลล่า แคลิฟอร์เนีย
5. หมู่บ้านบางกะดี อาเขต
6. หมู่บ้านเดอะแพลนไลท์
7. หมู่บ้านพฤกษาวิลล์ 41
8. หมู่บ้านพฤกษาวิลล์ 41/1
9. หมู่บ้านพฤกษา 63/1
10. หมู่บ้านเวนิว ติวานนท์-รังสิต
11. หมู่บ้านเวิร์ฟ ติวานนท์-รังสิต
โรงแรม 2 แห่ง
1. โรงแรมปทุมธานีเพลส
2. โรงแรมทินิดี แอท บางกอกกอล์ฟ คลับ
สนามกอล์ฟ 2 แห่ง
1. บริษัท ริเวอร์เดล กอล์ฟ แอนด์ คันทรี่คลับ จำกัด
2. บริษัท บี เค กอล์ฟ แอนด์ คันทรีคลับ จำกัด
อพาร์ทเมนท์ จำนวน 2 แห่ง
บ้านสวยอพาร์เมนท์โฮเทล (บริษัท บางกะดี จำกัด)
คอนโดมิเนี่ยม (บริษัท เสนาดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด)

6.8 แรงงาน
แรงงานประชาชนในท้องถิ่น และแรงงานต่างชาติ (เล็กน้อย)

7. ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม

7.1 การนับถือศาสนา
ประชาชนในเขตเทศบาลเมืองบางกะดี ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ รองลงมาคือศาสนาอิสลามและศาสนาคริสต์ ตามลำดับ มีวัดจำนวน 4 แห่ง ได้แก่
1. วัดเกริน หมู่ที่ 1
2. วัดบางกุฎีทอง หมู่ที่ 2
3. วัดสังลาน หมู่ที่ 3
4. วัดบางกะดี หมู่ที่ 4

7.2 ประเพณีและงานประจำปี
ประชาชนในเขตเทศบาลเมืองบางกะดี ยังคงอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น โดยสืบสานประเพณี ดังต่อไปนี้
แห่เทียนวันเข้าพรรษา ปฏิบัติช่วงเทศกาลวันเข้าพรรษา แรม 1 ค่ำ เดือน 8
ประเพณีตักบาตรทางน้ำ ปฏิบัติช่วงเทศกาลออกพรรษา แรม 11 ค่ำ เดือน 11
ประเพณีตักบาตรน้ำผึ้ง ปฏิบัติช่วงขึ้น 15 ค่ำเดือน 10 ตรงกับวันพระกลางเดือน 10
ประเพณีสงกรานต์ ปฏิบัติช่วงเทศบาลสงกรานต์วันที่ 13-15 เมษายน ของทุกปี
ประเพณีทำบุญวันสารท ปฏิบัติช่วงตรงกับวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10
ประเพณีลอยกระทง ปฏิบัติช่วงตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12

7.3 ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น
ภาษาท้องถิ่นในพื้นที่ตำบลบางกะดี ใช้ภาษากลางในการสื่อสาร และมีชุมชนมอญที่ยังคงสื่อสารด้วยภาษามอญ

7.4 สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก
เทศบาลเมืองบางกะดี เป็นเขตชุมชนเมืองและสวนอุตสาหกรรม จึงไม่มีผลิตภัณฑ์ที่เป็นสินค้าพื้นเมือง/ของที่ระลึก

8. ทรัพยากรธรรมชาติ

8.1 น้ำ
มีลำคลองธรรมชาติ 20 คลอง ได้แก่
1. คลองวัดเกริน หมู่ 1
2. คลองสาธารณะ หมู่ 1
3. คลองสาธารณะ หมู่ 1
4. คลองเจ้า หมู่ 1
5. คลองศาลเจ้า หมู่ 1
6. คลองศาลาแดง หมู่ 1
7. คลองโคกชะพลูล่าง หมู่ 1
8. คลองโคกชะพลูบน หมู่ 2
9. คลองวัดบางกุฎีทอง หมู่ 2
10. คลองวัดสังลาน หมู่ 3
11. คลองตานก หมู่ 3
12. คลองมะดัน หมู่ 4
13. คลองลำภู หมู่ 4
14. คลองวัดบางกะดี หมู่ 4
15. คลองต้นไทร หมู่ 4
16. คลองสองกระดอง หมู่ 4
17. คลองบางกะเสือ หมู่ 5
18. คลองหัวป่า หมู่ 5
19. คลองบางงิ้ว หมู่ 5
20. คลองบางหลวงเชียงราก หมู่ 5

8.2 ป่าไม้
-ไม่มี-

8.3 ภูเขา
-ไม่มี-

8.4 คุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติ
คุณภาพแหล่งน้ำตามลำคลองไม่สามารถใช้เพื่อการอุปโภคบริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ คุณภาพอากาศพอใช้
ประวัติความเป็นมา
ได้จัดตั้งโดยเปลี่ยนแปลงฐานะจากเทศบาล  ตำบลบางกะดี เป็นเทศบาลเมืองบางกะดี ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองบางกะดีอำเภอเมือง ปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี พ.ศ. 2563 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 137 ตอนพิเศษ 204 ง วันที่ 8 กันยายน 2563 ทั้งนี้ตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป 
วิสัยทัศน์

“สังคมต้องได้รับการพัฒนา การกีฬาต้องได้รับการส่งเสริม สิ่งที่เร่งเพิ่มคือการศึกษา ปัญหาใหญ่คือคุณภาพชีวิต"

พันธกิจ

1. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสาธารณูปโภคสาธารณูปการให้ได้มาตรฐานและเพียงพอกับความต้องการประชาชนควบคู่กับการวางผังเมืองที่ดี 
2. พัฒนาและปรับปรุงระบบการศึกษาสาธารณสุขและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
3. พัฒนาจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้ยังยืนอย่างเป็นระบบ
4. พัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น
5. ส่งเสริมการพัฒนาอาชีพและการสร้างงานให้แก่ชุมชน 
6. การพัฒนาและปรับปรุงการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพและสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน