อีเมล์ :
รหัสผ่าน :
ลืมรหัสผ่าน
ลงทะเบียน/เข้าสู่ระบบ
ภาษา
ปรับขนาดตัวอักษร
ประเพณี/วัฒนธรรม/เทศกาล
ทะแยมอญ
ยังไม่มีผู้ให้คะแนน

ทะแยมอญ เป็นการละเล่นซึ่งสันนิษฐานว่า มีมาตั้งแต่เดิมก่อนอพยพมา เป็นการร้องเกี้ยวพาราสีกัน คล้ายเพลงพื้นเมืองของไทย นิยมเล่นในงานค่าง ๆ เช่น กฐิน ผ้าป่า ตรุษ สงกรานต์ ลอยกระทง เป็นต้น จะเล่นบนบกหรือเล่นในเรือก็ได้ เพราะใช้การร้องโต้ตอบกันเป็นพื้น ดนตรีที่ใช้ประกอบเป็นประเภทเครื่องสาย เช่น ซอ จะเข้ เครื่องกำกับจังหวะ คือ ฉิ่ง และกลองเล็ก หากเล่นบนบกต้องมีรำประกอบการร้องด้วย

เนื้อหาทะแยมอญ เป็นการโต้ตอบเกี้ยวพาราสีกัน ไม่มีการพูดเสียดสี ใช้คำผวน หรือตลกคะนองในเรื่องเพศ เพราะการเล่นทะแยมอญของหนุ่มสาว จะอยู่ในสายตาของผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงเสมอ หากผู้ใหญ่เห็นว่ามีการเล่นที่เกินเลยไม่เหมาะสม หรือหยาบโลน ก็จะเรียกฝ่ายหญิงกลับบ้าน เลิกเล่นทันที

ดังนั้น การเล่นทะแยมอญจึงแปลกกว่าการละเล่นเพลงพื้นเมืองของไทย อยู่ที่เล่นเฉพาะเกี้ยวพาราสีเท่านั้น ไม่มีเล่นเชิงชู้ ลักพาหนี หรือตีหมากผัว ทะแยมอญอาจร้องโดยชักเอาเรื่องชาดกมาเปรียบเทียบด้วย มีพ่อเพลงแม่เพลงเป็นคู่ ๆ ร้องเป็นภาษามอญซึ่งปัจจุบันหาดูได้ยาก เพราะไม่มีคนรุ่นใหม่สืบต่อ นับวันมีแต่จะหายไป คล้ายกับเพลงพื้นเมืองของไทยด้วย จะมีก็แต่เพียงคนสูงอายุ สาธิตให้ชมเท่านั้น

แสดงความคิดเห็น